วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันจันทร์ ที่20 กุมภาพันธ์ 2560

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4


ความรู้ที่ได้รับ


- ให้เเต่ละกลุ่มออกมาสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวเเละจังหวะของวันจันทร์ 








เพื่อนยกตัวอย่างการสอนเสริมประสบการณ์






เราได้หัวข้อหน่วยมาจากไหน

สาระการเรียนรู้ ----> ใกล้ตัวเด็ก มีผลกระทบกับเด็ก 
----> สิ่งที่เด็กสนใจ

ทำไมเราจำเป็นต้องทำมายแม็ป 

- เพื่อให้รู้ว่ามีอะไรบ้างเป็นเนื้อหาที่เด็กจะได้เรียนรู้ ให้เหมาะสมกับพัฒนาการ

การนำไปใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้ ไปปรับใช้ในการเรียนการสอน การทำมายแม็ป การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ว่าเราควรจัดขั้นตอนอย่างไรในการสอนกิจกรรมต่างๆ

ประเมิน

ประเมินตนเอง
-มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน แต่งกายถูกระเบียบ บางคนก็มาสาย

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มาสอนตรงเวลา ปล่อยตรงเวลา มีการสาธิตให้ดูในการจัดแถวเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเทคนิคต่างๆ

ประเมินห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาด มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ บรรยากาศเหมาะกับการเรียน





















วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันจันทร์ ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560


บันทึกการเรียนครั้ง 3

ปรัชญาการศึกษาปฐมวัย


       การศึกษาปฐมวัยเป็นการพัฒนาเด็กตั้งแต่แรกเกิดถึง ๕ ปี บนพื้นฐานการอบรมเลี้ยงดูและการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ที่สนองต่อธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กแต่ละคน ตามศักยภาพ ภายใต้บริบทสังคม - วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่ ด้วยความรัก ความเอื้ออาทร และความเข้าใจของทุกคน เพื่อสร้างรากฐานคุณภาพชีวิตให้เด็กพัฒนาไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เกิดคุณค่าต่ตนเองและสังคม

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

1.การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม
2.การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
3.การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
4.การบูรณาการการเรียนรู้
5.การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
6.ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก





การนำหลักสูตรแกนกลางมาจัดเป็นหลักศูตรสถานศึกษา

ร่างกาย  : การใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ มัดเล็ก
อารมณ์-จิตใจ : การแสดงและรับรู้ความรู้สึกสังคม   : การช่วยเหลือตัวเอง ทำงานร่วมกับผู้อื่นสติปัญญา  :  ภาษา คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหา




บรรยากาศในห้องเรียน




ประเมิน

ประเมินตนเอง
- มาเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ตั้งใจทำกิจกกรรม ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนแต่งการถูกระเบียบ  มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการทำกิจกกรรม

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมตัวเพื่อจะมาสอนเป็นอย่างดี 

ประเมินห้องเรียน
- ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน โต๊ะเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา 






วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

วันจันทร์ ที่ 30 มกราคม 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 2


การจัดการบริหารในชั้นเรียน


        การบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นวิธีการดำเนินการให้ชั้นเรียนได้อยู่ในสภาพความพร้อมที่จะดำเนินการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดประสิทธิผลในการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง เนื่องด้วยชั้นเรียนเป็นแหล่งการเรียนรู้พื้นฐานในรายวิชาต่างๆ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทั้งประกอบด้วยผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันในด้านต่างๆอย่างชัดเจนหรืออาจเรียกว่า“ความแตกต่างระหว่างบุคคล” (Individual Difference) ชั้นเรียนที่มีการบริหารจัดการดีเป็นความสามารถของผู้สอนที่ส่งผลต่อบรรยากาศการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นปัจจัยสำคัญของการเรียนการสอน และหมายความรวมถึง ผู้เรียนมีความสุขในขณะที่อยู่ในชั้นเรียน ความสุขของผู้เรียนเป็นสิ่งที่สุดยอดปรารถนาของผู้สอน และผู้รับผิดชอบทางการศึกษาต้องพยายามจัดให้มีขึ้นโดยทั่วกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนเป็นองค์รวมของการบูรณาการความรู้ ความสามารถของครูผู้สอน พร้อมทั้งก่อให้เกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้มาโรงเรียนทุกวันอย่างมีความสุข (สันติ บุญภิรมย์. 2557 : 113)

        การจัดการชั้นเรียน หมายถึง การสร้างและรักษาสิ่งแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน รวมทั้งวิธีการสร้างระเบียบวินัยในห้องเรียน เพื่อรักษาสภาพอากาศในห้องเรียน ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น นักเรียนเกิดความร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้

                              ความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน

             ความสำคัญของการบริหารจัดการชั้นเรียน (Importance of Classroom Management) ที่มีต่อผู้เรียน ดังต่อไปนี้
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความอบอุ่นในขณะอยู่ในชั้นเรียน และมีความสุขในขณะที่มีการเรียนการสอน
2. ช่วยให้ส่งเสริมสนับสนุนบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งในเวลาเรียนปกติและนอกเวลาเรียน
3. ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันตามธรรมชาติของรายวิชานั้นๆ
4. ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ตระหนักในเรื่องของวินัยในชั้นเรียน
5. ช่วยป้องกันสิ่งรบกวนที่เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อการเรียนการสอนและการทำกิจกรรมต่างๆของผู้เรียน

บรรยากาศที่พึงปรารถนาในชั้นเรียน
ในการจัดการเรียนการสอน ผู้สอนต่างปรารถนาให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น และผู้เรียนเกิดพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร บรรยากาศในชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมให้ความปรารถนานี้เป็นจริง บรรยากาศในชั้นเรียนที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการสอน จัดแบ่งได้ 6 ลักษณะ สรุปได้ ดังนี้
1. บรรยากาศที่ท้าทาย (Challenge) เป็นบรรยากาศที่ครูกระตุ้นให้กำลังใจนักเรียน เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการทำงาน นักเรียนจะเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและพยายามทำงานให้สำเร็จ
2. บรรยากาศที่มีอิสระ (Freedom) เป็นบรรยากาศที่นักเรียนมีโอกาสได้คิด ได้ตัดสินใจเลือกสิ่งที่มีความหมายและมีคุณค่า รวมถึงโอกาสที่จะทำผิดด้วย โดยปราศจากความกลัวและวิตกกังวล บรรยากาศเช่นนี้จะส่งเสริมการเรียนรู้ ผู้เรียนจะปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจโดยไม่รู้สึกตึงเครียด
3. บรรยากาศที่มีการยอมรับนับถือ (Respect) เป็นบรรยากาศที่ครูรู้สึกว่านักเรียนเป็นบุคคลสำคัญ มีคุณค่า และสามารถเรียนได้ อันส่งผลให้นักเรียนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองและเกิดความยอมรับนับถือตนเอง
4. บรรยากาศที่มีความอบอุ่น (Warmth) เป็นบรรยากาศทางด้านจิตใจ ซึ่งมีผลต่อความสำเร็จในการเรียน การที่ครูมีความเข้าใจนักเรียน เป็นมิตร ยอมรับให้ความช่วยเหลือ จะทำให้นักเรียนเกิดความอบอุ่น สบายใจ รักครู รักโรงเรียน และรักการมาเรียน
5. บรรยากาศแห่งการควบคุม (Control) การควบคุมในที่นี้ หมายถึง การฝึกให้นักเรียนมีระเบียบวินัย มิใช่การควบคุม ไม่ให้มีอิสระ ครูต้องมีเทคนิคในการปกครองชั้นเรียนและฝึกให้นักเรียนรู้จักใช้สิทธิหน้าที่ของตนเองอย่างมีขอบเขต
6. บรรยากาศแห่งความสำเร็จ (Success) เป็นบรรยากาศที่ผู้เรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จในงานที่ทำ ซึ่งส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีขึ้น ผู้สอนจึงควรพูดถึงสิ่งที่ผู้เรียนประสบความสำเร็จให้มากกว่า การพูดถึงความล้มเหลว เพราะการที่คนเราคำนึงถึง แต่สิ่งที่ล้มเหลวจะมีผลทำให้ความคาดหวังต่ำ ซึ่งไม่ส่งเสริมให้การเรียนรู้ดีขึ้น บรรยากาศทั้ง 6 ลักษณะนี้ มีผลต่อความสำเร็จของผู้สอนและความสำเร็จของผู้เรียน ผู้สอนควรสร้างให้เกิดในชั้นเรียน



เพลง จัดแถว
           ยืนตัวตรง        ก้มหัวลงตบมือแปะ
  แขนซ้ายอยู่ไหน        หันไปทางนั้นแหละ
แขนขวาอยู่ไหน         หันไปทางนั้นและ



ประเมิน

ประเมินตนเอง
-มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม จดบันทึกขณะที่อาจารย์กำลังสอน


ประเมินเพื่อน

-เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังขณะที่อาจารย์สอน แต่งกายถูกระเบียบ มีส่วนน้อยที่แต่งกายไม่เหมือนเพื่อน 



ประเมินอาจารย์

-อาจารย์มาสอนตรงเวลา ปล่อยตรงเวลา มีการสาธิตให้ดูในการจัดแถวเพื่อให้นักศึกษาได้เห็นภาพและเทคนิคต่างๆ


ประเมินห้องเรียน
-ห้องเรียนสะอาด มีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกครบ บรรยากาศเหมาะกับการเรียน








วันจันทร์ ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560


บันทึกการเรียนครั้งที่ 1

ความรู้ที่ได้รับ


อาจารย์แจกคอร์ซีรีบัสและอธิบายเนื้อหาให้ทำความเข้าใจในรายวิชา

การเรียนรู้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างถาวรอันเป็นผลมาจากประสบการณ์ และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว 



การทำงานของสมอง



- รับรู้ -----> ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ----->มาสมานความรู้เดิม -----> เกิดความรู้ใหม่
----->เพื่อให้ตัวเองอยู่รอด
การเล่น

เป็นส่วนสำคัญของชีวิตเด็ก การเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กเริ่มจากการได้เล่น การเล่นมีส่วนสำคัญอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างสมอง โดยการเล่นจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มขึ้นของการส่งสัญญาณประสาทและเพิ่มการประสานงานระหว่างเซลล์สมองกับการทำงานของร่างกายได้ดีขึ้น

ทักษะ
- อาจารย์สอนเทคนิคในการคิดโดยคิดให้เป็นระบบและคิดอย่างต่อเนื่องใช้การจำและนึกภาพซึ่งจะทำให้เราจำและนำไปใช้ได้

การนำมาใช้
- สามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการศึกษาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัยว่าควรมีหลักการอย่างไรในการจัดห้องเรียนจัดแบบไหนให้เหมาะสมกับพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็กตามคุณลักษณะตามวัย


ประเมิน

ประเมินตนเอง
-มาเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม จดบันทึกขณะที่อาจารย์กำลังสอน

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนแต่งการถูกระเบียบ  มาเรียนตรงเวลา ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มาสอนตรงเวลา แต่งกายเหมาะสม เตรียมตัวเพื่อจะมาสอนเป็นอย่างดี  เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น

ประเมินห้องเรียน
- ห้องเรียนสะอาดกว้าง  บรรยากาศเหมาะสมกับการเรียน โต๊ะเพียงพอต่อจำนวนนักศึกษา